งานวิจัยเผย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

เทคโนโลยีอินเตอรเน็ตความเร็วสูง ทำให้การดูแลสุขภาพของเราง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการสื่อสารระหว่างคนไข้กับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ หรือก็คือ Telemedicine

คำว่า Telemedicine (แพทย์ทางไกล) เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีสื่อสาร เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องการโต้ตอบกันระหว่างคนไข้และผู้ให้บริการทางการแพทย์

เช่น การให้คำปรึกษาจากแพทย์ ผ่าน VDO Call กับคนไข้ นับเป็น Telemedicine อย่างหนึ่ง


ในประเทศสหรัฐอเมริกา Telemedicine กำลังเติบโตขึ้น และเริ่มมีความแพร่หลายในการใช้งาน
โดย The American Telemedicine Association รายงานว่า ปัจจุบันในสหรัฐฯ มีเครือข่าย Telemedicine ราว 200 ราย เช่นเดียวกับเว็บไซต์ผู้ให้บริการด้าน Telemedicine แห่งหนึ่งในสหรัฐ มีรายงานว่า โรงพยาบาลในสหรัฐฯ บางแห่ง ได้เพิ่มทางเลือกในการรักษาผ่านทาง Telemedicine แก่คนไข้ของตัวเอง


เมื่อไม่นานมานี้ก็มีการวิจัยชิ้นใหม่ โดยเว็บไซต์ Fierce Healthcare ได้รายงานผลการศึกษาชิ้นหนึ่งจาก สมาพันธ์ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและการแพทย์แห่งสหรัฐฯ หรือ Health Industry Distributors Association (HIDA) พบว่า Telemedicine ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับการไปพบแพทย์แบบตัวต่อตัว


HIDA ได้ทำสำรวจคนไข้มากกว่า 1,000 คน ในเรื่องการพบแพทย์ผ่านทาง Telemedicine โดยส่วนใหญ่ของผู้มีส่วนร่วมในการสำรวจ เป็นกลุ่มคนอายุน้อย คือ อายุต่ำกว่า 50 ปี

ได้คะแนนความพึงพอใจราว 54 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับบริการ

ผ่านทาง Telemedicine เมื่อเทียบกับการพบแพทย์แบบตัวต่อตัวแบบดั้งเดิม

ยิ่งไปกว่านั้นมีคนไข้บางส่วนที่ระบุว่าตัวเอง “พึงพอใจอย่างมาก” กับประสบการณ์นี้


ประโยชน์หลักๆ ของ Telemedicine

การค้นพบจากการสำรวจของ HIDA เน้นย้ำให้เห็นถึงประโยชน์ของ Telemedicine ในทางการแพทย์ ทั้งสำหรับแพทย์และคนไข้

1. เพิ่มอัตราการเข้าถึงการรักษา
Telemedicine สามารถเชื่อมโยงผู้ป่วยและบุคลาการทางการแพทย์ได้ง่ายกว่า ทำให้คนไข้ และบุคลาการทางการแพทย์ที่เหมาะสมพบเจอกันได้

2.มีค่าใช้จ่ายลดลง
ผู้ป่วยสามารถประหยัดได้สองทางก็คือ ในเรื่องค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายในการพบแพทย์ โดยแพทย์สามารถเรียกค่าบริการต่ำลงได้ ด้วยการรับผู้ป่วยมากขึ้นได้ในแต่ละวัน เนื่องจากการปรึกษาผ่านทาง Telemedicine มักจะใช้เวลาสั้นกว่า

3.มีความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น
เนื่องจากผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาในการเดินทางไปยังสถานพยาบาล และนั่งรอคิวเพื่อรอการรับบริการเป็นเวลานาน พวกเขาจึงสามารถจัดการนัดหมายได้ดีขึ้น แม้ทั้ง 2 ฝ่ายจะยุ่งแค่ไหนก็ตาม

ในเมืองไทยเราเอง หลังสถานการณ์ Covid19 ก็เริ่มมีปรากฏการณ์ New Normal หรือ ความปกติใหม่
บริการ Telemedicine จะขึ้นมาเป็นส่วนสำคัญด้านการแพทย์ที่จะช่วยให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีและใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแน่นอน


อ้างอิงจาก New study: A small majority of patients prefer telemedicine_visits / August 8, 2017, by Kevin McCarthy (https://goo.gl/CkqreR)